เพกา ผักพื้นบ้านมากคุณประโยชน์ที่ควรรู้

เคยไหมเวลาไปเดินตลาดสดมักพบเห็นผักพื้นบ้านแปลกตาจำนวนมาก ยิ่งไปตามต่างจังหวัดก็จะพบผักพื้นบ้านเฉพาะถิ่น บางคนก็ลองซื้อหามาทาน อย่าง “เพกา” ผักพื้นบ้านที่มาในรูปแบบฝักอ่อน อันใหญ่ หลายคนบอกอะไรนำไปทำอาหารได้หลากหลาย และยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย

เพกาหรือลิ้นฟ้า

เพกา (Indian Trumpet Flower) เป็นสมุนไพรที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oroxylum indicum (L.) Kurz. ในประเทศไทย เพกาถือเป็นพืชที่มีประโยชน์ทั้งด้านการบริโภคและการรักษาโรค ส่วนต่าง ๆ ของเพกาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่ยอด ใบ ดอก ฝัก เมล็ด ไปจนถึงราก ลำต้น โดยเฉพาะฝักอ่อนที่เป็นที่นิยมใช้ในการประกอบอาหาร

ลักษณะของเพกา

เพกาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นมีสีเทา ผิวค่อนข้างหยาบ ใบเพกาเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยมีลักษณะรูปวงรีหรือรูปไข่ ผิวใบเรียบ ดอกเพกามีสีม่วงหรือน้ำตาลอ่อน ออกเป็นช่อและจะบานในตอนกลางคืน ผลของเพกามีลักษณะเป็นฝักยาว แบน ส่วนที่กินได้คือฝักอ่อน ซึ่งมีรสขม

เพกากับการประกอบอาหาร

ส่วนต่าง ๆ ของเพกามีการใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน ดังนี้:

1. ฝักอ่อน: เป็นส่วนที่นิยมนำมาทำอาหาร โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น การนำไปลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือนำไปต้มใส่ในแกงส้ม แกงเลียง หรือต้มจิ้มน้ำพริก แต่เมื่อผ่านการปรุงสุกรสขมจะเบาบางลง รสชาติจะเบาบางลง

2. ใบและยอดอ่อน: ใช้เป็นผักสดทานกับน้ำพริก หรือในบางท้องถิ่นจะนำใบเพกามาต้มและนำไปประกอบอาหาร เช่น แกง

3. เมล็ดแก่: มีคุณสมบัติทางยาใช้ชงเป็นชาได้ดี

คุณสมบัติทางยาและการรักษาโรค

เพกาเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยามากมาย มีการใช้ในแพทย์แผนโบราณในการรักษาอาการต่าง ๆ ดังนี้

1. ช่วยบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ และบรรเทาอาการเจ็บคอ

2. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ลดอาการร้อนใน ปรับสมดุลในร่างกาย และกระตุ้นระบบย่อยอาหาร

3. การรักษาโรคท้องเสียและโรคบิด

4. ช่วยยาลดไข้และบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

5. ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้

6. ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดระดับความดันโลหิตในร่างกาย

เพกาเป็นผักพื้นบ้านที่มีคุณค่าทางโภชนาการและทางยาสูง มีรสขมนิยมทำมาประกอบอาหารในบางท้องถิ่น ใบ ฝัก ราก และเปลือกของเพกา สามารนำมาใช้รักษาโรคได้หลายชนิด ซึ่งปัจจุบันมีการวิจัยกี่ยวกับเพกาอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตอาจจะนำมาผลิตเป็นยาได้เป็นรูปธรรมมากขึ้น