การฝากครรภ์ ถือเป็นหนึ่งในเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือสำหรับคนที่กำลังวางแผนที่จะมีลูกเพื่อความเตรียมพร้อม ซึ่งการ ฝากครรภ์ ก็คือการตรวจสุขภาพเป็นระยะ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่รู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ จนถึงวันคลอด โดยที่แพทย์ที่รับการฝากครรภ์ จะทำการตรวจสอบอย่างละเอียด เกี่ยวกับสุขภาพของทั้งแม่ และเด็ก โดยคนที่กำลังสงสัยว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการฝากครรภ์ และการดูแลครรภ์อย่างถูกต้อง และปลอดภัยที่สุด
ฝากครรภ์ ตรวจอะไรบ้าง?
สำหรับจุดประสงค์หลัก ๆ ในการฝากครรภ์ ก็เพื่อดูแลความปลอดภัยเกี่ยวกับสุขภาพ ของทั้งแม่ และลูก เพื่อทำการตรวจ และประเมิน เกี่ยวกับอาการเสี่ยง หรืออาการข้างเคียง ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้การตรวจดังต่อไปนี้
- ยืนยันการตั้งครรภ์รวมถึงตรวจอายุครรภ์จากรอบประจำเดือนล่าสุด
- ซักประวัติแพทย์จะถามเรื่องทั่วไป เช่น เคยตั้งครรภ์มาก่อนไหม มีโรคอะไรที่เคยได้รับวินิจฉัยหรือเปล่า ยาที่ใช้ประจำ เป็นต้น
- ตรวจร่างกายจะแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ๆ ส่วนแรกคือตรวจทั่วไป เช่น วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง ตรวจการทำงานของปอด อีกส่วนคือการตรวจภายใน ซึ่งใช้เวลาสั้น ๆ แต่สามารถเช็กความผิดปกติได้ทั้งรังไข่ ท่อนำรังไข่ ช่องคลอด รวมถึงมะเร็งปากมดลูก ที่สำคัญคือไม่เจ็บ
- ตรวจเลือดสำหรับขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะเหมือนการตรวจสอบความปกติของร่างกาย เพราะค่าของเลือดที่ตรวจออกมานั้น จะสามารถนำเอามาวินิจฉัยเกี่ยวกับสุขภาพของร่างกายได้เป็นอย่างดี เช่น ไขมัน ความสมบูรณ์เลือด ระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงตรวจการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น เอชไอวี ซิฟิลิส
เพราะฉะนั้นเมื่อทราบแล้วว่า การฝากครรภ์ แพทย์จะต้องตรวจสอบอะไร ก็ควรที่จะต้องเตรียมตัวให้พร้อม เพราะเมื่อถึงเวลาเดินทางไปฝากครรภ์จะได้สะดวกทั้งสองฝ่าย รวมถึงจะได้มีเวลาขอคำแนะนำในการดูแลสุขภาพได้อีกด้วย
ฝากครรภ์ ต้องไปพบแพทย์บ่อยแค่ไหน?
โดยปกติแล้ว แพทย์จะทำการแบ่งไตรมาสหลัก ๆ ออกมาเพื่อที่จะสามารถทำการประเมิน เพื่อให้ได้ผลในการประเมินออกมาอย่างต่อเนื่องที่สุด แต่ระยะส่วนใหญ่ไม่ได้เจาะจงเป็นวันที่เฉพาะ ซึ่งสามารถจำได้ง่าย ๆ ดังนี้
- อายุครรภ์ 1-32 สัปดาห์ พบแพทย์ทุก 1 เดือน (4 สัปดาห์)
- อายุครรภ์ 32-36 สัปดาห์ พบแพทย์ทุกครึ่งเดือน (2 สัปดาห์)
- อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ขึ้นไป พบแพทย์ทุก 1 สัปดาห์
โดยที่ระยะเวลาในการใช้ในการพบแพทย์ของแต่ละคน อาจจะแตกต่างกัน โดยที่จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์เป็นหลัก ซึ่งถ้าหากมีการตรวจพบว่ามีความเสี่ยงผิดปกติ ที่จะส่งผลโดยตรงถึงทารกภายในครรภ์ แพทย์ก็อาจจะทำการแนะนำ หรือส่งตัวไปให้ตรวจกับแพทย์เฉพาะทาง เพื่อที่จะได้มั่นใจว่า แม่ และลูก จะปลอดภัยมากที่สุดตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์