การที่ ลูกกลับหัว เกิดจากทารกเริ่มเคลื่อนไหวในท้อง โดยส่วนใหญ่จะเริ่มกลับหัวในสัปดาห์ที่ 33-34 และเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าใกล้จะคลอดแล้ว ซึ่งวิธีสังเกตก็สามารถทำได้ด้วยตัวเองดังต่อไปนี้
อาการบ่งบอกว่า ลูกกลับหัว
ท้องจะลดต่ำลง – ให้สังเกตว่าช่วงหน้าอกกับมดลูกจะมีระยะห่างมากขึ้น หากไม่แน่ใจลองให้คุณพ่อช่วยดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างที่กล่าวหรือไม่
จะหายใจสะดวกขึ้น – หากรู้สึกหายใจสะดวกกว่าปกติก็เป็นไปได้ว่าทารกกลับหัว เพราะปอดไม่มีแรงกดทับนั่นเอง
เจริญอาหาร – หากก่อนหน้านี้คุณรู้สึกการกินอาหารเป็นเรื่องยาก แต่จู่ ๆ ก็กินง่ายเจริญอาหารก็เป็นสัญญาณว่าทารกกลับหัวแล้ว เพราะท้องไม่มีแรงกดทับ อีกทั้งอาการแสบร้อนกลางอกหลังอาหารก็ลดลงอีกด้วย
ลูกกลับหัว คุณแม่จะเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น – ถึงแม้ปกติช่วงไตรมาสที่ 3 จะเข้าห้องน้ำบ่อยอยู่แล้ว แต่เมื่อลูกกลับหัวก็จะยิ่งบ่อยกว่าเดิมไปอีก เพราะมีแรงกดที่กระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้นนั่นเอง
แรงกดที่อุ้งเชิงกรานจะมากกว่าเดิม – เป็นเพราะว่ากระดูกเชิงกรานต้องรับน้ำหนักทั้งหมด หากยืนจะเมื่อยเร็วขึ้น ดังนั้นควรพักผ่อนมาก ๆ ไม่ควรยืน หรือเดินบ่อย ๆ
ลูกกลับหัว อาจจะมีอาการท้องผูก – เมื่อแรงกดที่กระดูกเชิงกรานมีเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลถึงทวารหนักอาจจะทำให้ท้องผูก หรือเป็นริดสีดวงทวาร ดังนั้นควรเน้นทานอาหารที่มีกากใยสูง และดื่มน้ำมาก ๆ
มีอาการเจ็บท้องหลอก – หลายคนมักจะคิดว่าเป็นสัญญาณใกล้คลอด แต่จริง ๆ แล้วถึงการหดรัดตัวของมดลูกมากผิด เหมือการซ้อมเตรียมมดลูกให้พร้อมสำหรับการคลอดที่ใกล้เข้ามา
ลูกกลับหัว จะรู้สึกปวดหลัง – เมื่อทารกกลับหัวลงที่อุ้งเชิงกรานก็จะเพิ่มแรงกดที่หลัง และยิ่งลูกตัวตัวขึ้นเรื่อง ๆ แรงโน้มถ่วงศูนย์ถ่วงเปลี่ยนไป ทำให้ต้องแอ่นหลังเพื่อสร้างความสมดุล จึงมักจะปวดหลังโดยเฉพาะหลังช่วงล่าง
ตกขาวสีเปลี่ยน – สีของตกขาวจะมีความข้นเหนียวกว่าช่วงที่ผ่านมา ในคุณแม่บางคนอาจจะมีเลือดปนเป็นเพราะปลอดเลือดที่ปากมดลูกบางลงจนแตกนั่นเอง
จะหุบขาได้ยากขึ้น – เป็นเพราะมีแรงกดจำนวนมากที่กระดูกเชิงกราน จึงส่งผลให้หุบขาได้ยากขึ้น
ทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณบอกได้ว่า ลูกกลับหัว แล้วแต่อย่างไรก็ตามหากไม่แน่ใจ หรือกังวลควรไปให้คุณหมอตรวจให้แน่ชัด และควรไปตรวจให้ตรงเวลาซึ่งคุณหมอจะเป็นผู้วินิจฉัยได้อย่างชัดเจนที่สุด